Brownout Syndrome ไฟไม่หมด แต่ใจมันหมดไปแล้ว
เมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน ก้าวเข้าสู่ภาวะของการรับผิดชอบหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าครองชีพ และ ความเจริญก้าวหน้า
ในหน้าที่การงาน หรือ สกิลต่าง ๆ ที่จะเพิ่ม เพื่อให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้นในสังคมของการทำงาน เรียนรู้ และ สร้างโอกาส ในแง่มุม
ของการทำงาน และ ธุรกิจ เพื่อต่อยอดอะไรที่จะสามารถเป็นประโยชน์ให้กับตัวเราในอนาคตได้ เพราะว่าการทำงานได้ทำกันแค่ 1-2 ปี
แล้วเลิกทำไปเลย ยกเว้นว่าคุณจะรวยล้นฟ้า แบบชาตินี้ไม่ต้องหาเงิน ก็อยู่แบบสุขสบายไปตลอดชั่วชีวิต หากไม่เป็นแบบนั้นแล้ว แน่นอนว่า
ทุกๆ คน ในสังคมของการทำงาน ต่างต้องดิ้นรนเพื่อทำให้ตัวเองเก่งที่สุด เด่นที่สุด ได้เงินมากที่สุด เพื่อให้ชีวิตของเรานั้น
ยังคงไปต่อได้แบบราบรื่น ไม่ลำบากทั้งเรา และ คนที่เกี่ยวข้องกับเรา ไม่ว่าเป็นครอบครัว หรือ เพื่อน
กระโดดกลับมาที่ประเด็นของ Brownout Syndrome มันคืออะไร? ชื่อคุ้นๆ แต่แน่ใจว่าไม่ได้เขียน หริอ อ่านออกเสียงแบบนี้
ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ ภาวะ Burnout Syndrome หรือ ภาวะของคนที่หมดไฟในการทำงานของตัวเอง ที่ทำอยู่ปัจจุบัน ในความหมายของมันคือ
งานอาจจะไม่ได้มีความท้าทายสำหรับเค้าอีกแล้ว เพราะเค้าอาจจะคิดว่า งานนี้ไม่ได้เหมาะกับเค้า หรือ เค้าอาจจะไม่ได้เนื้อหาของงานนี้ ทำให้การทำงานนั้น
เป็นไปด้วยความน่าเบื่อหน่าย ทำอะไรก็ไม่สนุกสักอย่าง หรือไม่ก็ งานที่เค้ากำลังทำอยู่มันง่ายซะจนไม่มีอะไรท้าทาย ให้เค้าต้องพยายามอีกแล้ว
อีกนัยนึงคือ เค้าเก่งเกินกว่าจะอยู่ตรงนี้ อาจจะถึงเวลาแล้วสำหรับการเปิดโลกที่กว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น ยากขึ้น และงานที่ทำอยู่เอง
ก็ไม่ได้เพิ่มอะไรสักอย่าง ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานที่เดิมนั้น อาจจะเท่าเดิม แต่ไม่ได้มีอะไรพัฒาเพิ่มขึ้นได้
การหมดไฟ จริง ๆ แล้ว อาจจะมีทางแก้ไขได้ ด้วยการเพิ่มเงื่อนไขของความสำเร็จในงาน ให้กว้าง และ ยากขึ้นไปอีก อาศัยประสบการณ์
ในการแก้ไขปัญหาเยอะกว่าเดิม หรือ เป็นงานที่ต้องติดต่อกับคนมากกกว่าเดิม สเกลของงานใหญ่กว่าเดิม ยกตัวอย่าง เช่น ปกติคนคนนึง
ทำงานประสานงานแต่ในบริษัทนั้น ๆ แค่อย่างเดียว อาจจะขยับสเกลให้ไปติดต่อต่างบริษัท ต่างรูปแบบการทำงาน ก็เพิ่มความท้าทายได้มากแล้ว
หรือ สำหรับสายวางแผน อาจจะเกิดโปรเจคที่ซับซ้อน และ ใช้วลาในการปิดโปรเจคนานขึ้น เพื่อให้รู้สึกว่า ได้ทำอะไร ได้ประสบการณ์ และ
ภาคภูมิใจกับความสำเร็จในเนื้องานมากขึ้น อาจจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นไฟในการทำงาน ให้กลับมาก็ได้
แต่สำหรับ Brownout Syndrome นั้นต่างออกไป มันไม่ได้หมดไฟ แต่ใจมันหมดไปแล้ว แน่นอนว่าถ้าหมดใจ ไม่รักกันแล้ว
อะไรก็กระตุ้นมันไม่ได้ให้กลับมาปึ๋งปั๋งได้ หรือทำได้แต่ยากมาก เพราะมันพูดถึงภาพใหญ่มาก ๆ ที่เป็นตัวทำลายใจของพนักงานให้พังทลาย
คนเราน่าจะมูฟเพราะอยู่ไม่ได้ จากอะไรบางสิ่ง มันไม่อยากไปต่อแล้ว ไม่อยากอยู่ที่นี่อีกแล้ว และนั่น เป็นอาการ ที่มีเปอร์เซ็นต์เยอะกว่าหมดไฟด้วยซ้ำ
คนเราลาออกเพราะมันไม่ท้าทายเพียง 5% แต่ตัดใจลาออกเพราะหมดใจถึง 40%
อาการแบบไหน Brownout Syndrome? :
- ลดความตื่นตัวในการได้รับงานอะไรก็ตาม
- มาแรกตื่นเต้นได้ทำโน่นนี่ ตอนนี้ไม่เอาอะไรแล้ว
- ไม่ทำโอ ด่วนแค่ไหนก็ไม่สน นี่วันหยุด
- ความจริงวันหยุดพอเข้าใจได้ แต่โอไม่เอา แต่งานไม่เสร็จ อันนี้ก็ไม่ดี
- ไม่ทำกิจกรรมกับองค์กร
- ไม่อยากร่วมมืออะไรกับองค์กร
- ออกห่างจากสังคมเพื่อนร่วมงาน
- กินข้าวคนเดียวได้ ไม่เป็นไร
- ช้า โทรม ซึม
- ไม่ปกติอีกต่อไปแล้วสินะ
ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้เกิด Brownout Syndrome
1.กฎระเบียบองค์กรที่ไม่สมเหตุ ไม่เป็นธรรม
บางคนอาจจะมีเถียงว่าองค์กรก็ต้องมีกฎที่ทุกคนยอมรับได้สิ ใช่ มันต้องมีกฎ แต่อะไรที่ไม่เป็นธรรมอ่ะ ลองถามตัวเองสิ
ว่าเป็นคุณที่ต้องคอยแบกรับ คุณไหวไม่ ไม่ประสาทแดกไปซะก่อน ซึ่งเป็นกฎที่ขาดความยืดหยุ่น และไม่ได้สร้างอะไรให้ดีขึ้น
องค์กรไหนมีอยู่บางข้อ ก็ลองพิจารณาดู เพราะมันสร้างความบาดหมางในใจพนักงาน ดีไม่ดีจะสร้างให้กับพนักงานด้วยกันเอง
เพราะมีแน่นอน ในตำแหน่งที่ต้องประทะกัน HR – แผนกอื่น ๆ
ตัวอย่าง เข้าสายหักเงิน แต่ถ้าฝนตก อุบัติเหตุ ก็หยวน ๆ ได้
2.ทำได้มาก ผลไม่เสนอ หรือ น้อย
คนเก่ง ๆ ต่างทะยอยออกเพราะสาเหตุนี้ ใครจะชอบอะไรที่ทำไปแล้วได้เท่าเดิม เกือบสูญเปล่า แล้วความพยายามที่ผ่านมาตลอดละ
มันไม่เคยได้รับผลตอบแทน เป็นอะไรเลยใช่ไหม ไม่คุ้มค่า เหนื่อยเกินไป ทำดีไม่ได้ดี ทำไปทำไม พอทำงานไม่ได้เท่าเดิม แต่ดีกว่าเริ่มต้น
กลับโดนด่าซะงั้น ใครจะทนก็ทน คนเก่งๆ ไกปู หมด เค้าอาจจะเริ่มหางานใหม่ หรือหาองค์กรที่ตอบแทนได้เท่ากับที่เค้าทำ
คำถามคือ ย้ายไป แล้วแย่มั้ย หรือ มีอะไรแย่กว่าที่เก่า ? ถ้าใช่ เค้าคงไม่ไปแต่แรก
3.เป้าหมายการทำงานไม่ชัดเจน
การทำงานแบบสุ่ม แล้วผลลัพธ์กว้างจัด แต่เนื้องานกระจัดกระจาย แบบนี้การทำงานบางอย่าง ของบางคน อาจจะดีจนโดดเด่น
ในทางกลับกัน บางคนก็หายไปในอากาศ เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย ทั้งที่เลือดตาแทบกระเด็น ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เริ่มต้นจากการ
กำหนดเป้าหมายเลน เพราะว่าหากเป้าหมายของงาน มันไม่เคยชัดเจน เราไม่เคยรู้เลยว่า เราทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร ทำไปทำไม
ทำไปแล้วจะหายอีกหรือเปล่า ใครจะอยากไปทำงานชิ้นนั้น เพราะมันเหมือนเหนื่อยเปล่า ทำไป = 0 เชื่อเถอะ ในชีวิตจริง ไม่มีหรอก
ใครที่ทำงานเป้าหมายแบบไม่ชัดเจน แล้ว ลาออกเลยในไม้เดียว ทุกความน่าเบื่อ ของการเกิดเหตุการณ์ที่แย่ ๆ แบบนี้
มันต้องเกิด ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จนคนคนนึงหมดความอดทนที่จะทำลากมันต่อไป เป็นที่มาของการหมดใจ ในการทำงาน
ให้กับที่แห่งหนึ่ง
ส่งท้าย
ไมว่าจะเบริ์น หรือ จะบราวน์ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานลาออกได้ทั้งนั้น แต่ความน่ากลัวของการออกแบบ Brownout Syndrome
มันนำพนักงานกลับมาค่อนข้างยาก เพราะใจมันไปแล้ว ต้องฝากไว้ในองค์กรในคิดทบทวน และ หมั่นสังเกตพฤติกรรมของพนักงาน
เพราะว่าเป็นภัยเงียบที่เกิดปุปปับ หากเป็นคนเก่งๆ อาจจะทำให้บริษัทเสียทรพยากรที่ทรงคุณค่า ที่ผลิต Products ที่ดีให้กับบริษัทได้
เสียหายมากกว่าเพราะต้องมาคอยหาคนใหม่ที่ทำงานนี้ได้เลย เทรนคนใหม่ ทำให้คนใหม่เข้าใจกับระบบของงาน เข้ากับทีม เข้าใจวัฒนธรรม
เข้าใจวิชันของการทำงาน และ เป้าหมายของงาน และ บริษัท นั่นทำให้การรักษาคนเก่าที่ทำงานได้ไว้ ดีกว่าการหาคนใหม่เสมอ เพราะเรื่องทรัพยากร
บุคคล เป็น Cost ที่สูงที่สุด ที่บริษัทอาจจะต้องจ่าย
Ref : OFM
Ads : Rice Bran Oil