Omicron สถานการณ์เป็นอย่างไร
เนื่องด้วยการระบาดของไวรัสโควิด ที่ได้กลายพันธุ์ชนิดใหม่ ซึ่ง WHO หรือ องค์การอนามัยโลก เบื้องต้นนั้น ได้ประกาศให้เป็นสายพันธ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) โดยสายพันธ์ดังกล่าว มีรหัสที่เรียกว่า โควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ ได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่า โอไมครอน (Omicron)
ถูกรายงานว่าพบครั้งแรก ในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ เริ่มต้นที่ประเทศ “บอตสวานา” โดยในปัจจุบันพบว่า มีการระบาดแล้วในประเทศแอฟริกาใต้, บอตสวานา, นามิเบีย, เอสวาตินี,มาลาวี, โมซัมบิก, ซิมบับเว, เลโซโท, เบลเยียม, ฮ่องกง, อิสราเอล, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, แคนาดา อิตาลี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัชเช็ก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2021)
โดยพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง โดย 32 ตำแหน่ง ซึ่งเกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม หรือที่เรียกว่า Spike Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายมนุษย์ โดยหนามพวกนี้ เปรียบเสมือนตัวทำการ Synaptics ในเซลล์ของมนุษย์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเครื่องมือที่ทำการยึดเกาะ เพื่อทำการปล่อยสารพันธุกรรม เข้าไปในเซลล์ เพื่อแพร่พันธุ์ ตัวไวรัสให้มีชีวิตในเซลล์นั้นๆ และ จะกระจายตัวทั่วร่างกายมนุษย์ ในความน่าตกใจเบื้องต้นนั้น กลายเป็นว่าตัวหนามแหลม หรือตัวจับแทงเข้าไปในเซลล์ พบมากกว่าทุกสายพันธุ์ และมากกว่าสายพันธุ์เดลตา ถึง 2 เท่า และพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ในความหมายนี้แปลว่า มันติดง่ายขึ้นแน่นอน และ แพร่ได้ง่ายด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งดังกล่าว สิ่งที่น่ากังวลก็คือ
- เชื้อแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา
- ทำให้เข้าสู่ระบบร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
- มีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น
- มีแนวโน้มทางด้านการต้านประสิทธิภาพวัคซีน
- คนที่เคยติดแล้ว สามารถติดซ้ำได้ ในสายพันธุ์ของ Omicron
- ความรุนแรงของโควิดกลายพันธุ์นี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้นหรือไม่ ?
อาการของโควิดกลายพันธุ์โอไมครอน
- อาการไม่สบายน้อยมาก อาจจะเกิดแค่ 1-2 วัน
- การได้กลิ่น รับรส ปกติ
- ไข้ต่ำ หรือ ไม่ค่อยมีไข้
- อาการล้าตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- เจ็บคอ ไอเล็กน้อย ระคายคอ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจจะส่งผลให้รุนแรง
- อาการโดยรวม เบื้องต้นพบว่าไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้านได้
Omicron อันตรายน้อยลง จริงหรือ ?
ตามที่สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงาน องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่ามีการพบหลักฐานเพิ่มเติม เกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน มากกว่าที่เชื้อจะลงปอด แปลว่าเชื้อแม้ติดก็ไม่ลงปอด ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงต่อร่างกายน้อยกว่า และน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้อย่างเดลตา และพบว่าอัตราการเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตจากโอมิครอนยังอยู่ในระดับต่ำ ถึงต่ำมาก
“นี่อาจเป็นข่าวดี แต่เราจะเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ต่อไป” มาฮามุดกล่าว ดังนั้นอย่างเพิ่งชะล่าใจ
ตั้งแต่เดือนพ.ย. ที่ผ่านมา เชื้อได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้ตรวจพบแล้วอย่างน้อย 128 ประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายพื้นที่จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่อัตราการเข้าโรงพยาบาล เนื่องอาการที่หนักจากการติดเชื้อ และ การเสียชีวิตยังคงต่ำกว่าการแพร่ระบาดระลอกก่อนๆ ส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่ประชาชนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีน
แต่ถึงอย่างนั้นการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และ เป็นวงกว้างนั้น ยังคงส่งผลกระทบที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่อัตราการฉีดวัคซีนต่ำ
โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน ยังคงช่วยลดการป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้
โอมิครอน 5 เหตุผลที่ทำให้อาการของโรครุนแรงน้อยลง
1. การติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น เด็กที่ติดเชื้อ อาการโดยรวม ไม่รุนแรง อาการเหมือนหวัดหรือไม่มีอาการ โดยอาการรุนแรง ตามอายุที่เพิ่มขึ้นมากกว่า เช่น ผู้สูงอายุ
2. การได้รับวัคซีน ทำให้อาการ และ ความรุนแรงของโรคลดลง
3. ลดลงด้วยตัวไวรัสเอง โอมิครอนสร้างความรุนแรงน้อยกว่าเดลตา
4. จากการศึกษาในเซลล์ทดลอง โอมิครอน ชอบเยื่อบุเซลล์ทางเดินหายใจส่วนต้น มากกว่าเนื้อเยื่อถุงลมปอด เป็นเหตุผลให้ไวรัสลงปอดได้น้อยกว่า
5. ไวรัสเองก็ไม่อยากสูญพันธ์ แปลว่า ไวรัสต้องการร่าง หรือ Host ในการอยู่อาศัย เฉกเช่นสัตว์อื่นบนโลก แปลว่า ถ้าร่าง Host ตาย ไวรัสก็จะตายไปด้วย ตามหลักวิวัฒนาการ ทำให้ตัวมัน อยู่ได้ โดยที่ Host ไม่ตาย
Omicron ทางออกเรื่องการรักษาการติดเชื้อ
Sotrovimab คืออะไร?
Sotrovimab หรือชื่อทางการค้าว่า Xevudy เป็นยารักษาโควิด-19 ด้วยแอนติบอดี โดยผู้ผลิตเปิดเผยผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่ายาดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการต้านโควิด-19 ทุกสายพันธุ์
รวมถึงไวรัสกลายพันธุ์อย่างโอไมครอน ซึ่งมีการกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนาม (spike protein) มากถึง 37 ตำแหน่ง
ขณะนี้ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (MHRA) แล้ว
การทำงานและประสิทธิภาพของยา
แอนติบอดีในยา ถูกออกแบบมาเพื่อจับกับโปรตีนหนามของไวรัสโดยเฉพาะ (spike protein) ของไวรัสโคโรนา และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัส
ซึ่งการทดลองเบื้องต้นพบว่าได้ผลกับโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่กำลังแพร่ระบาด แม้ว่าไวรัสจะมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยผู้ป่วยจะได้รับยาผ่านการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
Sotrovimab มีประสิทธิภาพในการต่อต้านโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน รวมถึงสายพันธุ์อื่นๆ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล
การทดลองพบว่า Sotrovimab ช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยหนัก และลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางได้ ร้อยละ 79 และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งไม่ให้เชื้อแพร่สู่ปอดได้อีกด้วย
ความหวังใหม่สู้โอไมครอน
สหราชอาณาจักรได้อนุมัติ Sotrovimab ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า Xevudy เพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ขั้นเล็กน้อยถึงปานกลาง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการป่วยรุนแรง
โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งการเกิดอาการป่วยรุนแรงของผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 และมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ซึ่ง MHRA แนะนำให้ใช้ยาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดหรือภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการป่วย
นี่เป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษา ที่แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยง ที่จะเกิดอาการป่วยหนักจากโควิด-19 และเป็นอีกก้าวสำคัญ ในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้”
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่า Sotrovimab จะมีส่วนช่วย เมื่อโลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนว่าวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้มากน้อยเพียงใด
โดยขณะนี้รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้สั่งซื้อยาดังกล่าวไปแล้วประมาณ 100,000 โดส
REF :
Good article and right to the point. I don’t know if this is really the best place to ask but do you guys
have any ideea where to hire some professional writers?
Thank you 🙂
I was reading through some of your articles on this internet
site and I believe this internet site is rattling instructive!
Retain putting up.!
I really like this article. You can send any article like this. Playmods